Lightning Protection System
- ระบบสายล่อฟ้า แบบ Early Streamer Emission (ESE)
- ระบบสายล่อฟ้า แบบกรงฟาราเดย์ (Faraday Cage)
1.ความต้องการทั่วไป
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาและติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าชนิด ESE (Early Streamer Emission System) มีรัศมีการป้องกันไม่น้อยกว่าที่ระบุในแบบ ระบบป้องกันฟ้าผ่าต้องสามารถรับประจุที่เกิดจากฟ้าผ่าแล้วนำสู่พื้นอย่างรวดเร็วและปลอดภัย ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวและไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟใดๆ ทั้งสิ้น โดยอุปกรณ์จะต้องผ่านการทดลองในห้องทดลองจากสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นกลาง นอกจากนี้ระบบจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน NFC 17-102, หัวล่อฟ้าควรผลิตจากประเทศเดียวกับมาตรฐาน
2. ส่วนประกอบสำคัญ
2.1 หัวล่อฟ้า (Lightning Rod ESE) จะต้องเป็นหัวล่อฟ้าที่ทำจาก Stainless Steel โดยมีส่วนประกอบหัวล่อฟ้าดังนี้ Capture Tip, Capture Head, Sparking Poles, Booster, Contract-Air Plug, Central Inductive System, Charger, Earthing Axis ส่วนที่สำคัญ Central Inductive System ต้องปิดมิดชิด เพื่อการใช้งานที่ยาวนานคงทนและเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
2.2 เสา (Mast) ทำด้วย Hotdip. Galvanized Steel หรือ วัสดุชนิดอื่นตามที่กำหนดในแบบความสูงของเสาไม่น้อยกว่า 5 เมตร หรือตามที่กำหนดในแบบ
2.3 สายนำลงดิน, สายดิน หรือ สายกราวด์ (Ground Conductor) เป็นชนิดทองแดงเปลือย ร้อยท่อ PVC ขนาดไม่น้อยกว่า 70 Sq.mm. สายนำลงดินต้องเป็นเส้นเดียวกันตลอดไม่มีรอยต่อใดๆ
2.4 ระบบดินหรือระบบกราวด์ (Grounding System) ใช้ แท่งกราวด์ (Ground Rod : Copper Clad Rod) ขนาด ø 5/8 นิ้ว x 10 ฟุต อย่างน้อย 3 แท่ง ปักลึกลงในดินอย่างน้อย 50 ซม. ตามตำแหน่งที่กำหนดในแบบโดยค่าความต้านทานไม่เกิน 5 Ω
3. การติดตั้ง
หัวล่อฟ้า, เสา, สายนำลงดิน ต้องติดตั้งตามตำแหน่งที่กำหนดในแบบ ซึ่งเป็นตำแหน่งโดยประมาณตำแหน่งที่แน่นอน ทางผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดให้ก่อนการติดตั้ง ส่วนอุปกรณ์จับยึดท่อให้ติดตั้งอุปกรณ์และในส่วนอื่นๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า
4. การทดสอบ
หัวล่อฟ้าจะต้องมีเครื่องมือวัดหรือทดสอบการทำงานของระบบได้ในกรณีที่ไม่มั่นใจในการทำงานหลังติดตั้งไปแล้วหลายๆ ปี โดยเป็นเครื่องมือมาตรฐานจากผู้ผลิต
5.การแบ่งประเภทสิ่งปลูกสร้าง
I (98%) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โรงผลิตเคมี, โรงผลิตนิวเคลียร์, ห้องปฏิบัติการ, โรงผลิตชีวเคมี
ผลของฟ้าผ่าคือ ไฟไหม้ และการทำงานที่ผิดพลาด ของระบบภายในโรงงาน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น และโลก
II (95%) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่อยู่โดยรอบ ได้แก่ โรงกลั่น, สถานีบริการเชื้อเพลิง, โรงงานดอกไม้เพลิง, งานคลังแสง
ผลของฟ้าผ่าคือ ไฟไหม้ และการระเบิดที่เกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้าง และสิ่งที่อยู่โดยรอบ
III (90%) สิ่งปลูกสร้างที่มีอันตรายอยู่ในวงจำกัด ได้แก่ ระบบโทรคมนาคม, โรงไฟฟ้าอุตสาหกรรม, ที่ง่ายต่อการเกิดไฟไหม้
ผลของฟ้าผ่าคือ การสูญเสียการบริการสาธารณะอันตรายที่เกิดกับสิ่งที่อยู่ใกล้เคียงโดยรอบเนื่องจากไฟไหม้เป็นต้น
IV (80%) สิ่งปลูกสร้างทั่วไป ได้แก่ ที่อยู่อาศัย-บ้าน, เกษตรกรรม, โรงภาพยนต์, โรงเรียน, ห้างสรรพสินค้า, ศูนย์กีฬา, ธนาคาร, บริษัทประกันภัย, บริษัทพาณิชย์, โรงพยาบาล, สถานพยาบาล, เรือนจำ, อุตสาหกรรม, พิพิธภัณฑ์, โบราณสถาน
ผลของฟ้าผ่าคือ ความเสียหายซึ่งโดยทั่วไปจำกัดเฉพาะสิ่งของที่จุดฟ้าผ่า หรืออยู่ตามทางกระแสฟ้าผ่าความเสี่ยง เบื้องต้นต่อการเกิดไฟไหม้ และศักดาไฟฟ้าช่วงก้าวที่อันตรายความเสี่ยงช่วงที่สอง เนื่องจากไฟฟ้าดับ และ อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจากระบบควบคุมการระบายอากาศ และการให้อาหารสัตว์เสียหาย เป็นต้นความเสียหายของระบบไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความกลาหล เช่น ไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบแจ้งเหตุ ไฟไหม้ไม่ทำงานทำให้การดับเพลิงล่าช้าเหมือนข้างต้น รวมทั้งปัญหาที่เกิดเนื่องจากการสื่อสารขัดข้อง คอมพิวเตอร์ไม่ทำงานและการสูญหายของข้อมูลเหมือนข้างต้น รวมทั้งปัญหาของผู้ป่วยอาการหนัก และความยุ่งยากต่อการช่วยเหลือผู้ถูกจองจำผลเสียหายเพิ่มเติมเนื่องจากสิ่งที่อยู่ภายในโรงงาน ตั้งแต่ความเสียหายน้อยไปจนถึง ความเสียหายที่รับไม่ได้ และการสูญเสียการผลิตการสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่อาจทดแทนได้
ติดต่องานระบบสายล่อฟ้า สายสุรีย์ (โย) : 086-384-1701 Email : info@worldnext.co.th
ระบบสายล่อฟ้าแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ
- ระบบสายล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission (ESE)
- ระบบสายล่อฟ้าแบบ Faraday Cage
ระบบสายล่อฟ้าแบบ Early Streamer Emission (ESE)
หลักการทำงานของระบบล่อฟ้าแบบ ESE หรือ หัวล่อฟ้าแบบ ESE เมื่อมีลำประจุเริ่มจากก้อนเมฆลงมา ทำให้สนามแม่เหล็กมีค่าสูงขึ้นทำให้หัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นปล่อยประจุออกมา และสร้างลำประจุอย่างรวดเร็วทำให้ฟ้าผ่าลงมาที่หัวล่อฟ้าแบบ ESE โดยหัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นถูกสร้าง ออกแบบ และออกมาตรฐาน โดยประเทศฝรั่งเศส
ระบบสายล่อฟ้า ESE นั้น 1 หัวสามารถป้องกันเป็นรัศมีวงกว้าง ตามแต่สเปคของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ หากพื้นที่ที่เราต้องการให้มีการป้องกันฟ้าผ่านั้นกว้าง ระบบสายล่อฟ้าแบบ ESE ทำให้ลดต้นทุนในเรื่องของสายทองแดง และแท่งกราวด์ได้
การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ESE นั้นเริ่มจากคำนวณความกว้าง และความยาวของพื้นที่ที่ต้องการป้องกันฟ้าผ่า จากนั้นเลือกรุ่นของหัวล่อฟ้า กำหนดจุดติดตั้งหัวล่อฟ้า ทางเดินสายกราวด์ และจุดตอกแท่งกราวด์
ระบบสายล่อฟ้าแบบ Faraday Cage
หลักการทำงานของระบบสายล่อฟ้าแบบ Faraday Cage มีแท่งแฟรงกลิน เป็นตัวล่อ โดยมีการต่อเชื่อมกันของแท่งแฟรงกลิน ด้วยสายทองแดงเป็นตาราง แท่งแฟรงกลิน แต่ละแท่งนั้นจะห่างกันไม่เกิน 25-30 m ทำให้การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ นั้นใช้สายทองแดง แท่งแฟรงกลิน และแท่งกราวด์เป็นจำนวนมาก การติดตั้งระบบสาล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์นั้นต้องติดตั้งให้เต็มพื้นที่ที่ต้องการป้องกันทำให้ใช้เวลาในการติดตั้งนาน หากพื้นที่ที่ต้องการป้องกันฟ้าผ่านั้นไม่กว้างมากทำให้การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ นั้นประหยัดกว่า แบบ ESE