Transformers
รับออกแบบและติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)
ตัวอย่างผลงานการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า WorldNext Electric |
ขั้นตอนการขอขยายเขตระบบจำหน่ายแรงสูงและติดตั้งหม้อแปลง
๑. ยื่นเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเตรียมเงินเป็นค่าสำรวจออกแบบหรือค่าตรวจสอบแบบซึ่งเรีบกเก็บใน วันที่ยื่นคำร้องขอ จำนวนเงิน ๕,๓๕๐ บาท โดยใช้เอกสารดังนี้– หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล พร้อมวัตถุประสงค์แนบท้าย คัดไม่เกิน ๓๐ วัน
– สำเนาใบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.๒๐)
– สำเนาใบอณุญาติตั้งโรงงาน (แบบ ร.ง.๒) หรือ ใบอณุญาติประกอบกิจการโรงงาน (แบบ ร.ง.๔) อย่างใดอย่างหนึ่ง
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงนาม,สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งโรงงาน
– แผนผังภายในบริเวณของกิจการที่ขอใช้ไฟ ( Lay out )
– แบบการก่อสร้างและการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ( Detail Specification )
– สำเนาใบเส็รจรับเงินค่าตรวจสอบหรือทดสอบหม้อแปลง (พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนา)
– หนังสือรับรองและหลักฐานของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
– หนังสือยินยอมให้ปักเสาพาดสายไฟฟ้าหากผ่านที่ดินของผู้อื่น
– สเปคอุปกรณ์ ๑ ชุด
(เอกสารส่วนที่ต้องเพิ่มเติมของผู้รับเหมา)
– หนังสือรับรองบริษัท (หรือหนังสือจดทะเบียนการค้า)ของบรษัทฯผู้รับเหมา
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงนาม
– หนังสือมอบอำนาจจากบริษัทที่ขอใช้ไฟฟ้าให้ผู้รับเหมาดำเนินการ(หากผู้รับเหมาให้บุคคลธรรมดามาดำเนินการแทน ต้องระบุ ไว้ใหนังสือมอบอำนาจว่าสามารถมอบอำนาจช่วงได้) พร้อมติดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท หรือ ๓๐ บาทแล้วแต่กรณี
– หนังสือมอบอำนาจจากบริษัทที่รับเหมาให้บุคคลธรรมดามาดำเนินการ
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ
๒. หลังจากยื่นเรื่องแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจประมาณการ และจะแจ้งค่าใช้จ่ายในการขอขยาย
เขตระบบจำหน่ายให้ทราบ และให้มาชำระค่าใช้จ่าย ซึ่งมีกำหนดยืนราคา ๓ เดือน นับจากวันที่แจ้งฯหากเกิน ๓ เดือน
ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะต้องทำการสำรวจประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างใหม่ทั้งหมด
๓. หลังจากที่ผู้ขอใช้ไฟมาชำระค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯ จะดำเนินการก่อสร้างขยายเขตฯให้กับผู้ขอใช้ไฟ
๔. เมื่อ การไฟฟ้าฯ ดำเนินการก่อสร้างขยายเขตฯแล้วเสร็จ ผู้ขอใช้ไฟสามารถยื่นเอกสารเพื่อทำเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ได้เลย (กรณี ผชฟ.ดำเนินการเองให้ทำหนังสือขอให้การไฟฟ้าฯตรวจสอบระบบแรงสูงภายในก่อน)[พร้อมทำสัญญาซื้อขายไฟหรือสัญญาเช่าหม้อแปลง
(กรณีเช่าหม้อแปลง) โดยใช้เอกสารดังนี้
หลักฐานในการขอติดตั้งมิเตอร์สำหรับนิติบุคคล
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯที่มีอายุรับรองไม่เกิน ๑ เดือน พร้อมวัตถุประสงค์แนบท้ายโดยนาย
ทะเบียน สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (ลักษณะประทับตราครุฑสีแดง) จำนวน ๑ ชุด - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนา Passport (กรณีที่เป็นบุคคลต่างด้าว)
ของผู้มีอำนาจลงนามในนามบริษัทฯหรือห้างหุ้นส่วนฯ - สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐) ถ้ามี จำนวน ๑ ชุด
- สำเนาใบอนุญาตตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ( แบบ ร.ง.๒ ) หรือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ( แบบ
ร.ง.๔ ) ซึ่งออกให้โดย กรมโรงงาน อุตสาหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน ๑ ชุด - สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งโรงงานหรือสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน ๑ ชุด
- แผนผังระบบไฟฟ้าภายในมาตราส่วน ๑:๑๐๐ จำนวน ๒ ชุด
- แผนผังระบบไฟฟ้าภายในมาตราส่วน ๑:๑๐๐ จำนวน ๒ ชุด(Single line diagram)
หลักฐานในการขอติดตั้งมิเตอร์สำหรับบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกิจการ จำนวน ๑ ชุด
- สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) จำนวน ๑ ชุด
- หนังสือยืนยันประเภทกิจการที่ประกอบการ (ขอรับหรือกรอกแบบฟอร์มได้ที่บัญชีรายใหญ่
- สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งของสถานประกอบการที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน ๑ ชุด
- แผนผังภายใน ๑:๑๐๐ จำนวน ๒ ชุด
กรณีมอบอำนาจให้เพิ่มเอกสารดังนี้
– หนังสือมอบอำนาจว่าให้กระทำการใดๆ เช่น ขอมิเตอร์ โอนเปลี่ยนชื่อ ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ฯลฯ พร้อมติดอากรแสตมป์
( ๑ เรื่อง ๑๐ บาท เกิน ๑ เรื่อง ๓๐ บาท)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
๕. เมื่อผู้ขอใช้ไฟยื่นเอกสารขอติดตั้งมิเตอร์แล้วทางการไฟฟ้าฯ จะดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานการเดินสายไฟฟ้า
(ระบบแรงต่ำภายใน) ให้กับผู้ขอใช้ไฟ เพื่อพิจารณาว่าผ่านตามมาตรฐานที่ การไฟฟ้าฯกำหนดหรือไม่
๖. กรณี ไม่ผ่านมาตรฐาน ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟดำเนินการแก้ไขใหม่ กรณี ผ่านมาตรฐาน ทางการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคจะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟเตรียมเอกสารมาอย่างละ ๒ ชุด เพื่อทำเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์และทำสัญญาซื้อขายไฟ
(ตัวจริง ๑ ชุดทำสัญญาซื้อขายไฟ)
๗. หลังจากที่ผู้ขอใช้ไฟชำระค่าใช้จ่ายเรียบร้อย ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะดำเนินการติดตั้งมิเตอร์ให้กับผู้ขอใช้ไฟ
หลักฐานในการทำสัญญาซื้อขายไฟสำหรับนิติบุคคล
– หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทฯที่มีอายุรับรองไม่เกิน ๑ เดือน พร้อมวัตถุประสงค์แนบท้ายโดยนายทะเบียน สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (ลักษณะประทับตราครุฑสีแดง) จำนวน ๑ ชุด (ฉบับตัวจริง)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนา Passport (กรณีที่เป็นบุคคลต่างด้าว) ของผู้มีอำนาจลงนามในนามบริษัทฯหรือห้างหุ้นส่วนฯ
– สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๒๐) จำนวน ๑ ชุด
– สำเนาใบอนุญาตตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ( แบบ ร.ง.๒ ) หรือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ( แบบ ร.ง.๔ ) ซึ่งออกให้โดย กรมโรงงานอุตสาหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน ๑ ชุด
– สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งโรงงานหรือสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน ๑ ชุด
– เงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารฯ (ต้นฉบับ ๑ สำเนา๓) ทั้งนี้กรณีใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารฯ จะต้องนำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารฯ ส่งให้ บัญชีรายใหญ่ล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อน หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารฯจะต้องติดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท ให้เรียบร้อย
หลักฐานในการทำสัญญาซื้อขายไฟสำหรับบุคคลธรรมดา
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกิจการ จำนวน ๑ ชุด
– สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) จำนวน ๑ ชุด
– หนังสือยืนยันประเภทกิจการที่ประกอบการ (ขอรับหรือกรอกแบบฟอร์มได้ที่บัญชีรายใหญ่)
– สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งของสถานประกอบการที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน ๑ ชุด
– เงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารฯ (ต้นฉบับ ๑ สำเนา๓) ทั้งนี้กรณีใช้หนังสือสัญญา
ค้ำประกันของธนาคารฯ จะต้องนำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารฯ ส่งให้ บัญชีรายใหญ่ล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบ
ความถูกต้องก่อน หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารฯจะต้องติดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท ให้เรียบร้อย
เอกสารที่ต้องส่งให้ กฟภ.ตรวจสอบมาตรฐานก่อนการจ่ายไฟ (กรณี ผชฟ.ดำเนินการเอง)
๑. ทำหนังสือถึงการไฟฟ้าฯ เรื่องขอให้ตรวจสอบมาตรฐานการก่อสร้างระบบแรงสูงและแรงต่ำภายใน
(พร้อมชื่อและเบอร์โทรศัพท์ ผู้ประสานงาน)
๒. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าตรวจสอบหม้อแปลง (เซ็นต์ชื่อรับรองสำเนา)
๓. สำเนาใบเสร็จรับเงินของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง (เซ็นต์ชื่อรับรองสำเนา)
๔. สเป็คของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง (เซ็นต์ชื่อรับรองสำเนา)
๕. Single Line Diagram มาตราส่วน ๑:๑๐๐ จำนวน ๑ ชุด (เซ็นต์ชื่อรับรองสำเนา)
๖. ถ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน ต้องมีหนังสือผลการทดสอบจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ (เซ็นต์ชื่อรับรองสำเนา)
เอกสารที่ต้องนำมาวันทำสัญญาเช่าหม้อแปลง (กรณีเช่าหม้อแปลง)
๑. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท จำนวน ๒ ชุด
๒. หนังสือมอบอำนาจ จำนวน ๒ ชุด (ติดอากรแสตมป์)
๓. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มอบอำนาจ จำนวน ๒ ชุด (รับรองสำเนา)
๔. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ จำนวน ๒ ชุด
๕. สำเนาทะเบียนบ้านผู้รับมอบอำนาจ จำนวน ๒ ชุด
๖. สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ จำนวน ๒ ชุด
๗. หนังสือค้ำประกันออกโดยธนาคารฉบับจริง (กรณีค้ำธนาคาร)
๘. อากรแสตมป์ติดต้นฉบับคิดตามค่าเช่าหม้อแปลงXระยะเวลาที่เช่า( ติดอากรแสตมป์ ๑๐๐๐:๑ บาท ) และคู่ฉบับสัญญาติดอากรแสตมป์ ๕ บาท
*** เอกสารจะเป็นฉบับจริง ๑ ชุด และสำเนาถ่ายจากต้นฉบับจริง ๑ ชุด***